วางแผนลงทุน : เลี่ยงขาดทุนหนัก (Large Loss) โดยใช้ดัชนี VIX


เนื้อหาในวิดีโอตอนนี้

  • การขาดทุนหนัก (Large Loss) มีข้อเสียอย่างไร
  • จะเลี่ยงขาดทุนหนักได้อย่างไร
  • วัดความกลัวด้วย Volatility Index (VIX)
  • ใช้ VIX ในการตัดสินใจปรับพอร์ตการลงทุน
  • ตัวอย่างการใช้งาน VIX กับ SET Index, S&P500 Index, Dollar Index, Gold

ดาวโหลดเอกสารประกอบ : คลิ๊กที่นี่ 

 

แผนการลงทุนภาคบังคับ : เริ่มด้วยเงินแค่ 2,000 บาท ก็เกษียณได้อย่างพอเพียง

วันนี้กลับมาถึงบ้าน มีโอกาสได้ทำบัญชี ปรับปรุงมูลค่าพอร์ตการลงทุนของตัวเอง
รู้สึกมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งก็แน่นอนครับ เพราะช่วงนี้ สินทรัพย์ต่างๆ ก็ปรับขึ้นกันถ้วนหน้า 😀
แต่ความสุขที่รู้สึก มันไม่ใช่แค่เพราะเห็นมูลค่าพอร์ตขยับขึ้นอย่างเดียว…
แต่เพราะมันมีความสุขกับอนาคตที่ดีขึ้น และรู้สึกว่าเข้าใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้เข้าไปทุกๆ วัน
เหมือนกับที่ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล เจ้านายของผม มักจะพูดให้ฟังอยู่เสมอว่า
Happiness is not at the destination, but in the flowers you smell along the way

ว่าแล้วก็รู้สึกอยากจะให้ เพื่อนๆ อีกหลายๆ คนที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก “การลงทุน”
ได้มีโอกาสได้สัมผัสความสุขแบบนี้บ้าง… เลยเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า

ถ้าจะต้องมีแผนการลงทุนภาคบังคับซัก 1 แผน ที่ทุกๆ คนควรจะทำให้ได้
แผนนั้นจะเป็นแผนแบบไหนกันนะ ที่ทุกๆ คนน่าจะทำได้จริง
และเมื่อทำแล้ว ผลลัพธ์ก็ต้องออกมาดีพอสมควรด้วย

ว่าแล้วก็เปิด excel ขึ้นมาลองเล่นกับตัวเลข แล้วได้ “แผนการลงทุนภาคบังคับ” มา 1 แผน
ตามตารางข้างล่างนี้ครับ
.
มหัศจรรย์การลงทุน

แผนนี้เป็นแผนการลงทุนสำหรับคนทั่วๆ ไปที่เริ่มจะมั่นคงในงานพอสมควรแล้วครับ
และเป็นแผนที่เน้นทำคนเดียว ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีคู่ชีวิต แล้วเค้าก็ลงทุนด้วยแผนนี้เหมือนกัน
ผลลัพธ์ก็จะทวีเป็น 2 เท่า โดยผมเชื่อว่าแผนนี้ “ไม่ยากเกินไป” ที่พวกเราจะทำให้สำเร็จได้
รายละเอียดของแผนก็เป็นแบบนี้ครับ

  • เริ่มต้นลงทุนเมื่อเข้าสู่ ขวบปีที่ 26 ของชีวิต
    เชื่อว่าขณะนั้น เงินเดือนของคนทั่วไปน่าจะอยู่ที่ 20,000 บาท บวก/ลบ เล็กน้อย
  • เก็บออมเงินเพียง 10% ต่อเดือน หรือ เพียง 2,000 บาท ต่อเดือน ในปีแรก
  • สมมติให้เงินเดือนขึ้นปีละ 5% ซึ่งหมายถึง เราจะออมต่อเดือนเพิ่มปีละ 5% ด้วย
    (ในที่นี้ปีแรก เดือนละ 2,000 ปีที่สองเดือนละ 2,100 เองครับ
    แถมมองไปยาวๆ กว่านั้น เช่น ตอนอายุ 40 ปี ก็ออมแค่เดือนละประมาณ 4 พัน เท่านั้นเอง)
  • นำเงินออมนี้ไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนตามที่เราสามารถรับความเสี่ยงได้
    ซึ่งผมขอขั้นต่ำที่ 6% ต่อปี และให้ค่าสูงสุดไว้ที่ 10% ต่อปี 
  • ณ อายุเกษียณ (55 ปี หรือ 60ปี อันนี้แล้วแต่เราครับ) ก็ถอนเงินดังกล่าว
    มาใช้เป็นเงินทุนเพื่อการเกษียณอายุ

ถ้าทำได้ตามสมมติฐานต่างๆ ที่ผมเขียนไว้ข้างบน
ด้วยผลตอบแทน 6% หากเกษียณอายุ 55 ก็จะมีเงินเพื่อเกษียณ 3.6 ล้าน ถ้าเกษียณ 60 ก็จะมี 5.5 ล้าน
แต่ถ้าได้ผลตอบแทน 8% หากเกษียณ 55 ก็จะมีเงินเพื่อเกษียณ 5 ล้าน ถ้าเกษียณ 60 ก็จะมี 8 ล้าน
และยิ่งถ้าได้ผลตอบแทน 10% หากเกษียณ 55 ก็จะมีเงินเพื่อเกษียณ 7 ล้าน ถ้าเกษียณ 60 ก็จะมี 12 ล้าน
เอาเงินก้อนนี้ไปรวมกับเงินของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินพิเศษต่างๆ ที่มักจะได้เมื่อเกษียณอายุ
ก็น่าจะทำให้อย่างน้อย เรามีวัยเกษียณที่ไม่ลำบากนัก และอยู่ชื่นชมกับชีวิตหลังการทำงานได้อย่างมีความสุข

ซึ่งจะเห็นว่าไม่ได้หนักอะไรเลยครับ… ส่วนเรื่องของการลงทุนนั้น
ปัจจุบันก็มีแหล่งข้อมูลให้เราศึกษามากมาย รวมทั้งวิดีโอและบทความต่างๆ ในบล๊อคนี้ด้วย
หัวใจคือ “สำหรับคนทั่วๆ ไปแล้ว เราไม่ได้จำเป็นต้องสร้างผลตอบแทนระดับเทพก็ได้
เพียงแค่สร้างผลตอบแทน ล้อไปกับสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งก็มีธรรมชาติของมันอยู่แล้วนั่นคือไม่จำเป็นต้องชนะ แค่ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยๆ ของสินทรัพย์นั้นก็พอ
โดยลงทุนผ่านตัวกลางการลงทุนดีๆ เช่น กองทุนรวม ซึ่งก็มีสิทธิ์พิเศษมากมาย
คอยเชิญชวนให้เราไปลงทุนอยู่ตลอด เช่นสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเป็นต้น

ลองทำดูสิครับ… ไม่รู้จะพูดยังไงดี แต่ขอเชิญชวนว่า ลองทำดูซัก 3-4 ปี เป็นอย่างน้อยครับ
ถึงจุดนั้น น่าจะพอสัมผัสได้ ว่าความสุขระหว่างทาง
ความสุขที่เห็นชัดว่าตนเองกำลังเดินไปในเส้นทางที่ถูกต้อง ที่นำไปสู่อนาคตที่ดีเป็นยังไง

และถ้าเกิดลองแล้วพลาดขึ้นมา หรือไม่ได้มีความสุขจริงๆ …
ก็คงจะไม่ได้เสียหายอะไรมากมายจริงมั๊ยครับ… งั้นเรามาเริ่มต้นลงทุนกันเลย!

อยากได้กองทุนแบบนี้ จะมีใครทำมั๊ยน๊า….

อยากให้มีกองทุนแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทย (หรือในโลก) จัง
วัตถุประสงค์ของกองทุนคือ การระดมเงินเพื่อใช้ดอกผลของเงินที่ระดมนั้น
ไปช่วยเหลือองค์กรการกุศล หรือพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ
โดยมีเงื่อนไขคือ ทุกๆ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองนี้ ก็ต้องได้ประโยชน์ด้วย

ตัวอย่างเช่น ตั้งเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ
อาจเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน เงินฝาก ฯลฯ
หรือ ไหนๆ ก็จะมีการบังคับใช้ พรบ.ประกันเงินฝาก คุ้มครองบัญชีละ 1 ล้านบาทอยู่แล้ว
ก็อาจจะเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐล้วนๆ ไปเลย เพื่อความปลอดภัยก็ได้

โดยโครงสร้างจะเป็นกองทุนเปิดก็ได้ เป็นกองแบบ Roll-over ก็ได้
หรือจะเป็นกองปิด มีอายุชัดเจน แนวๆ Term Fund ก็ได้ ทั้งนี้มีหลักการสำคัญคือ

1) นักลงทุนที่มาลงทุน ต้องได้รับผลตอบแทน เพียงแต่ผลตอบแทนอาจไม่มาก
แต่ก็ควรได้มากกว่าการทิ้งเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์
อาจมีข้อกำหนดไว้ล่วงหน้าว่า จะได้รับผลตอบแทนไม่เกินค่าใดค่าหนึ่งที่กำหนดไว้ชัดเจน
เช่น ไม่เกิน Benchmark (อาจใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน / 6 เดือน)
หรืออาจจะเป็น Benchmark + ค่าคงทีซักค่า เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน + 0.25% ก็ได้

2) บริษัทจัดการ หรือ บลจ. ที่บริหาร ต้องได้ค่าธรรมเนียมการจัดการ
แต่ควรจัดเก็บในระดับที่ต่ำกว่ากองทุนรวมทั่วไป ส่วนจะต่ำมากแค่ไหนนั้น
ก็อยู่ที่ CSR Spirit ของบริษัทจัดการ โดยควรยึดเอาวัตถุประสงค์ว่ากองทุนมีขึ้น
เพื่อจะนำดอกผลไปช่วยสังคม หากเก็บค่าจัดการมาก ก็เหลือเงินไปช่วยสังคมน้อย
แต่ยังไงคิดว่าควรต้องเก็บนะครับ เพราะการดำเนินการก็มีค่าใช้จ่ายแน่ๆ

3) องค์กรการกุศล หรือโครงการเพื่อสังคมต่างๆ จะได้รับเงินช่วยเหลือ
โดยจ่ายออกจากผลตอบแทนส่วนที่เหลือ หลังจากที่หักค่าธรรมเนียมการจัดการ
และหักผลตอบแทนที่จ่ายให้กับนักลงทุนไปแล้ว
โดยอาจให้สิทธิ์นักลงทุนได้เลือกว่า จะเอาผลตอบแทนส่วนของตน
ไปบริจาคให้องค์กรไหน และหากองค์กรนั้น สามารถนำเงินบริจาคไปลดหย่อนภาษีได้
เงินที่จ่ายออกจากกองทุน ก็น่าจะเอาไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย

ผลประโยชน์ทางตรงต่อสังคม (ในเชิงตัวเลข)

หากยกตัวอย่างจากภาวะการลงทุนจริงในปี 2554 ก็จะพบว่า
กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำๆ ประเภท Money Market Fund มีผลตอบแทนทั้งปี
ประมาณซัก 2.50% ขณะที่ Benchmark คืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ย
ในช่วงเดียวกันจะได้ผลตอบแทนประมาณ 1.70%

หากเอา 2.50% – 1.70% ก็จะเหลือ 0.80%

ถ้ากองทุนนี้มีขนาด 1 พันล้าน ก็จะมีเงินไปช่วยเหลือสังคมประมาณ 8 ล้านบาทต่อปี
ถ้า (โชคดี) กองทุนมีขนาด 1 หมื่นล้าน เงินช่วยเหลือก็จะกลายเป็น 80 ล้านบาทต่อปี
ถ้า (โชคดีสุดๆ) กองทุนมีขนาด 5 หมื่นล้าน เงินช่วยเหลือก็จะกลายเป็น 160 ล้านบาทต่อปี
ซึ่งความจริงๆ อาจจะได้มากกว่านี้ เพราะบริษัทจัดการอาจใจดี
เก็บค่าธรรมเนียมการจัดการต่ำกว่ากองทุนทั่วไป

ผลประโยชน์ทางตรงต่อนักลงทุน (ในเชิงตัวเลข)

ดอกผลประมาณ 1.70% หากลงทุนไว้ 1 ล้านบาท ก็จะได้ 17,000 บาท
ขณะที่ถ้าไม่เอามาลงกองนี้ แล้วฝากออมทรัพย์ไว้ ได้ดอกเบี้ย 0.75%
ก็จะได้ดอกผลเพียง  7,500 บาท แถมอาจต้องเสียภาษีดอกเบี้ย 15% ด้วย

ผลประโยชน์ทางตรงต่อบริษัทจัดการ (ในเชิงตัวเลข)

หากสมมติว่าบริษัทจัดการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการ 0.50%
แล้วกองทุนมีขนาด 1 พันล้าน บริษัทจัดการก็จะมีรายได้ปีละ  5 ล้านบาท
แต่หากกองใหญ่ขึ้นเป็น 1 หมื่นล้าน ก็จะคิดเป็นรายได้ถึง 50 ล้านบาท ต่อปี
ซึ่งอย่างที่บอกไปครับ ว่าอาจจะเก็บน้อยกว่านี้ก็ได้

ที่สำคัญคือ ทุกๆ คนได้ประโยชน์ และยังมีประโยชน์ทางอ้อมที่ไม่ได้พูดถึงอีกมาก

และคนที่มาลงทุน ยังคงมีเงินต้นเหลือครบ ในกองทุนที่ความเสี่ยงต่ำ
(เผลอๆ เสี่ยงน้อยกว่าเงินฝาก) พร้อมได้ดอกผลไม่แพ้เงินฝากออมทรัพย์

แนวคิดคร่าวๆ เท่าที่นึกขึ้นมาเร็วๆ ก็ประมาณนี้ครับ

เหตุที่ทำให้คิดถึงเรื่องนี้ก็เพราะได้มีโอกาสรับฟังข่าวสาร และประสบพบเจอด้วยตัวเอง
ว่า องค์กรเพื่อการกุศล หรือมูลนิธิต่างๆ หลายๆ แห่ง มีค่าใช้จ่ายประจำค่อนข้างสูง
และเป็นรายจ่ายที่หยุดจ่ายไม่ได้ เพราะเป็นการจ่ายให้กับโครงการที่กำลังทำอยู่
วิธีแก้ปัญหาเรื่องเงินไม่พอ ก็ต้องเชิญชวนให้คนไปบริจาคเป็นพักๆ
ซึ่งก็ได้พอบ้าง ไม่พอบ้าง ที่แย่คือ กระแสเงินที่ได้ ไม่ต่อเนื่อง และ มีความไม่แน่นอนสูง

เลยแค่คิดขึ้นมาว่า เราเองทำงานอยู่ในสายงาน บลจ. จะมีอะไรที่ช่วยได้บ้างมั๊ย
ไอเดียเลยออกมาประมาณเป็นกองทุนแบบนี้… แต่พอคิดเสร็จ ก็ไม่กล้าไปบอกใคร

เลยเอามาโพสใน facebook กับใน blog ตัวเองนี่แหละครับ
เผื่อว่าจะมีผู้ใหญ่ใจดีมาเห็น หรือมีใครไปเล่าให้ผู้ใหญ่ใจดีได้รับฟังเข้า แล้วเกิดกองทุนนี้ขึ้นจริงๆ
ยิ่งถ้าแข่งกันทำ ยิ่งดีเลยครับ ยกตัวอย่างเช่น 1 บลจ. ก็มีอย่างน้อย 1 กองทุน
เป็นกิจกรรม CSR ที่ตรงกับความเชี่ยวชาญของ บริษัทจัดการลงทุนพอดี
(อาจจะไม่ต้องไปปลูกป่า เก็บขยะ สร้างโรงเรียน สร้างห้องน้ำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ตัวเองก็ทำไม่เก่ง)

แต่หันมาแข่งกันใช้ความคิดสร้างสรรค์ แข่งกันสร้างผลตอบแทน
ที่ท้ายที่สุดผลตอบแทนส่วนหนึ่งจะกลับคืนไปเป็นประโยชน์ต่อสังคม

ถ้ามีกองแบบนี้เมื่อไหร่ ผมขอปวารณาตัวที่จะช่วยโปรโมท ช่วยประชาสัมพันธ์
และจะเอาเงินสภาพคล่องที่มีในออมทรัพย์ไปพักในกองทุนนี้ด้วยคนครับ 😀

ปล. หากเพื่อนๆ ท่านไหนมีไอเดียอะไรเพิ่มเติม หรืออยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอะไร
เชิญได้ที่ช่อง Comment ด้านล่างเลยนะครับ

สร้างศูนย์บัญชาการทางการเงิน ได้ความสะดวก-ลดค่าธรรมเนียม-เพิ่มผลกำไร

วางแผนกระแสเงินสด รู้ว่าตัวเองจะชอร์ตเงินเมื่อไร ด้วย Monthly Cashflow Projection

วางแผนกระแสเงินสด รู้ว่าตัวเองจะชอร์ตเงินเมื่อไร ด้วย Monthly Cashflow Projection

สามารถดาวโหลดไฟล์ Excel สำหรับใช้ประกอบการเรียนรู้วิดีโอในตอนนี้ได้ ที่นี่ ครับ